...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ
ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นอันพอควรและปฏิบัติได้แล้ว
จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป
หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว
โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย
ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น
ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...
|
|
— พระบรมราโชวาท
ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ
หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517[1] |
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง
ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง
มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน
ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน
เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลก
โลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง
แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3
ห่วง 2 เงื่อนไข
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า
เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง
ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้
ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่าง ๆ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี
ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น
การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว
ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม
เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ
เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ
และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วน
เงื่อนไขคุณธรรม คือ
การยึดถือคุณธรรมต่าง ๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร
การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา
[7]
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการ
สถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม
ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น
"ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง"
ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า
"คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"
[8]
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน
และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น
โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน
ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน
สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้
เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น
ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว
ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว
ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น
การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น
จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น
ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้
ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน
ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ"
[9] และ
"การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"
[10]
การนำไปใช้[แก้]
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย
ซึ่งบรรจุอยู่ใน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่
10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน
เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า
"สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบ
เศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์
หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท
[11]
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงยังถูกบรรจุใน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า:
"บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม
เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
สุรเกียรติ เสถียรไทย
ในฐานะรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงต่างประเทศ กล่าวเมื่อวันที่ 24
พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10
ที่
ประเทศบูร์กินาฟาโซ
ว่าประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับ "
การพัฒนาแบบยั่งยืน"
ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน
ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก
โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540
ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ของไทยเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.7
[12]
นอกจากเศรษฐกิจพอเพียงจะมีประโยชน์ต่อประเทศไทย
ทั้งยังมีความสำคัญต่อการพัฒนาในต่างประเทศ
การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำไปพัฒนาประเทศในต่างประเทศเหล่านั้น
ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนผ่านทาง
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
โดยมีหน้าที่คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ
จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน
และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ
เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น
สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศได้ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี
และประสานกับ
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง
ซึ่งต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์
ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน
ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ
โดยได้ให้ผู้แทนจากประเทศเหล่านี้ได้มาดูงานในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ
[13]
นอกจากนั้นอดิเทพ ภาณุพงศ์
เอกอัครราชทูตไทยประจำ
กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า
ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง
[13]
เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์
และทราบสาเหตุที่รัฐบาลไทยนำมาเป็นนโยบาย ส่วน
ประเทศพัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่น
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
ได้กล่าวถึงผลสำเร็จอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงโดยองค์การสหประชาชาติ คือ
"สหประชาชาติเห็นด้วยกับพระมหากษัตริย์ในเรื่องนี้ [เศรษฐกิจพอเพียง]
โดยเริ่มใช้มาตรวัดคุณภาพชีวิตในการวัดความเจริญของแต่ละประเทศ
แทนอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ซึ่งกล่าวถึงแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเท่านั้น"
[9]
ที่มาhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87